โลโก้ มูลนิธิถันยรักษ์มูลนิธิถันยรักษ์

  • มะเร็งเต้านมในผู้หญิงอายุน้อยกับผู้หญิงอายุมาก แตกต่างกันอย่างไร
  • มะเร็งเต้านมในผู้หญิงอายุน้อยกับผู้หญิงอายุมาก แตกต่างกันอย่างไร

    แม้ว่าโรคมะเร็งเต้านมส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในผู้หญิงวัยกลางคนหรือสูงอายุ แต่ความจริง โรคมะเร็งเต้านม สามารถเกิดขึ้นได้ทุกช่วงอายุ จากสถิติ พบว่าผู้ป่วยมะเร็งเต้านมรายใหม่ เป็นผู้หญิงที่มีอายุต่ำกว่า 39 ปี 18.6% นั่นหมายความว่า แม้อายุไม่ถึง 40 ปี ก็มีความเสี่ยง ที่จะเป็นมะเร็งเต้านมได้เช่นกัน

    แต่หากพบในผู้หญิงอายุน้อย มีโอกาสที่โรคจะมีความรุนแรงมากกว่า อาจไม่ได้รักษาง่าย มีการลุกลาม การกระจายที่มากกว่า ซึ่งเหตุที่โรคมะเร็งเต้านมในผู้หญิงอายุน้อยนั้น มีโอกาสที่จะรุนแรงมากกว่า เพราะมักจะพบในกลุ่มที่เป็นผู้ที่มีประวัติครอบครัว หรือ เป็นมะเร็งเต้านมที่สัมพันธ์กับพันธุกรรม

    นอกจากนี้ ผู้หญิงอายุน้อยโดยทั่วไป จะอยู่ในวัยที่ไม่ถึงเกณฑ์ที่ได้จะรับการแนะนำให้ตรวจแมมโมแกรม เพื่อการคัดกรอง หากไม่ได้มีการสังเกต หรือดูแลเต้านมของตนเอง และไม่เคยตรวจเต้านมด้วยตนเองเลย กว่าจะรู้ตัวว่าเป็นมะเร็งเต้านม ก็มักจะพบในขนาดที่ใหญ่แล้ว

    อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านมจะเพิ่มขึ้นตามอายุ สิ่งสำคัญคือต้องเข้าใจปัจจัยเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านม สัญญาณและอาการที่แสดงในระยะเริ่มแรก ตลอดจนการนัดตรวจแมมโมแกรมอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้ ผู้หญิงที่มีแม่ ลูกสาว หรือน้องสาว (ญาติลำดับที่ 1) ที่เป็นมะเร็งเต้านม ควรเริ่มตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมตั้งแต่ อายุ 35 ปี การให้ความสำคัญกับสุขภาพเต้านม และการตรวจคัดกรองอย่างสม่ำเสมอ ถือเป็นการป้องกันที่มีประสิทธิภาพสูงสุด

    การป้องกันที่ดีที่สุด คือการค้นพบให้เร็วที่สุด

    เพื่อความสะดวก รวดเร็ว และประหยัดเวลา สามารถนัดตรวจ ตรวจสอบวันนัด เลื่อนนัด ยกเลิกนัด ขอผลตรวจ ผ่าน Thanyarak Application ดาวน์โหลดใน App Store และ Google Play ค้นหาคำว่า : Thanyarak

    #ศูนย์ถันยรักษ์
    #ตรวจมะเร็งเต้านม
    #เต้าต้องตรวจ
    #saveyourbreast