แบบทดสอบ
การตรวจเต้านมด้วยเครื่องอัลตร้าซาวด์ สามารถแทนการตรวจด้วยเครื่องเเมมโมแกรมได้?
ผิด : ในปัจจุบันยังไม่สามารถแทนกันได้เนื่องจากการตรวจคัดกรองโรคเต้านม จำเป็นต้องใช้ทั้งเครื่องแมมโมแกรม และเครื่องอัลตร้าซาวด์ เพื่อทำให้การตรวจวินิจฉัยแม่นยำมากขึ้น การตรวจด้วยเครื่องแมมโมแกรมเป็นการตรวจโดยการถ่ายภาพรังสีเต้านมเพื่อดูความผิดปกติในเต้านม ส่วนการตรวจด้วยเครื่องอัลตร้าซาวด์เป็นการตรวจโดยใช้คลื่นความถี่สูง การตรวจแมมโมแกรมเป็นวิธีการตรวจที่ดีที่สุดในปัจจุบัน เพราะสามารถตรวจพบความผิดปกติของเต้านมตั้งเเต่ระยะเริ่มเเรก แต่สำหรับผู้หญิงไทยที่มีเนื้อเยื่อหน้าอกหนาทึบ การตรวจด้วยเครื่องอัลตร้าซาวด์สามารถ ช่วยเพิ่มความแม่นยำในการวินิจฉัยมากขึ้น
การบีบกดเต้านมระหว่างการทำ mammography เป็นสาเหตุทำให้เกิดมะเร็งเต้านม?
ผิด : การตรวจด้วยเครื่องแมมโมแกรมจำเป็นที่จะต้องบีบกดเพื่อให้เนื้อเยื่อของเต้านมแผ่กระจาย ซึ่งจะทำให้การวินิจฉัยมีความแม่นยำมากขึ้น จากสถิติความพึงพอใจของผู้มาตรวจที่ศูนย์ถันยรักษ์ จำนวน 98% ของผู้มาตรวจพบว่า เจ็บแต่ทนได้ มีเพียง 2% เท่านั้นที่บอกว่าเจ็บมาก และปริมาณรังสีที่ใช้ในการตรวจมีจำนวนน้อยมาก ที่ผ่านมา มีการวิจัยของสหรัฐอเมริกาและยุโรป ที่เกี่ยวข้องกับปริมาณรังสีที่ใช้สำหรับการตรวจด้วยเครื่องเเมมโมเเกรม โดยกำหนดค่าปริมาณรังสี ที่ใช้เป็นมาตรฐานสากล เพื่อไม่ให้เป็นสาเหตุทำให้เกิดมะเร็งเต้านม
ผู้หญิงที่เสริมหน้าอกไม่สามารถตรวจด้วยเครื่องmammogram?
ผิด : สำหรับผู้หญิงที่เสริมหน้าอก สามารถตรวจด้วยเครื่องแมมโมแกรมได้ โดยระบบเฉพาะ สำหรับการถ่ายภาพรังสีเต้านมให้กับผู้หญิงที่เสริมหน้าอก นอกจากนี้ยังมีวิธีการตรวจคัดกรอง แบบอื่นที่ช่วยเสริมการตรวจด้วยเครื่องเเมมโมมแกรม เช่นการตรวจด้วยเครื่องอัลตร้าซาวด์ และการตรวจด้วยเครื่อง MRI เป็นต้น
80%ของก้อนที่คลำไม่ใช่มะเร็ง?
ถูกต้อง : ก้อนที่คลำได้มีเพียง20% เท่านั้นที่เป็นมะเร์งเต็านม ส่วนใหญ่ไม่ใช่ก้อนที่เป็นมะเร็ง และถ้าหาก คลำพบก้อนที่เต้านมควรให้รีบปรึกษาแพทย์เฉพาะทางด้านเต้านมเพื่อการวินิจฉัยและรักษาที่ถูกต้อง รวดเร็ว
การรับประทานอาหารหรือยาที่มีเเคลเซียมมากเกินไป จะทำให้เกิดหินปูนในเต้านม?
ผิด : การรับประทานอาหารหรือยาที่มีแคลเซียม ไม่เกี่ยวข้องกับหินปูนที่เกิดในเต้านม หินปูนที่เกิดขึ้นในเต้านมมีสาเหตุมาจากหลายกรณี เช่น จากการตกผลึกของเเคลเซียม ในท่อน้ำนม (ภาวะท่อน้ำนมอุดตัน) หรือเมื่อเนื้อเยื่อตายจะมีเเคลเซียมมาเกาะอยู่ในบริเวณนั้น ในกรณีที่ตรวจพบหินปูนในเต้านมรังสีเเพทย์จะเป็นผู้วินิจฉัยว่าหินปูนที่พบนั้นมีความผิดปกติ เป็นอันตรายหรือไม่
คลำพบก้อนบริเวณใต้รักเเร้ ไม่เกี่ยวข้องกับการเป็นมะเร็งเต้านม?
ผิด : การคลำพบก้อนได้บริเวณใต้รักแร้ อาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ แต่มีสาเหตุสำคัญ อยู่ประการหนึ่งที่ทำให้ ต่อมน้ำเหลืองโตขึ้น ซึ่งมีสาเหตุจากมะเร็งเต้านมที่แพร่กระจายมาที่ ต่อมน้ำเหลือง ดังนั้นหากมีการคลำพบก้อนที่บริเวณรักแร้ ควรรรีบพบแพทย์ทันที
คนหน้าอกเล็กมีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งเต้านมน้อยกว่าคนหน้าอกใหญ่?
ผิด : ไม่มีความสัมพันธ์กันระหว่างขนาดของหน้าอกกับการเป็นมะเร็งเต้านม
แม้ว่าในครอบครัวจะไม่มีประวัติการเป็นมะเร็งเต้านม แต่เรายังมีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมได้?
ถูกต้อง : มะเร็งเต้านมมีความสัมพันธ์ กับความผิดปกติทางพันธุกรรม ถ้ามีญาติสายตรง เช่นมารดา พี่สาว หรือน้องสาวเป็นมะเร็งเต้านม ก็จะมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นมะเร็งเต้านม แต่ในความเป็นจริงค้นพบว่า ผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งเต้านม ส่วนใหญ่ 85 - 90 % ไม่ได้มีประวัติครอบครัวที่สัมพันธ์กับมะเร็งเต้านม
มะเร็งเต้านมเป็นได้เฉพาะผู้หญิงเท่านั้น?
ผิด : ผู้ชายก็สามารถเป็นมะเร็งเต้านมได้ เพียงเเต่มีจำนวนน้อยเพียง 1% เมื่อเทียบกับจำนวนในผู้หญิง
วิธีป้องกันมะเร็งเต้านมที่ดีที่สุด คือการค้นพบให้เร็วที่สุดตั้งแต่ระยะเริ่มเเรก ใช่หรือไม่?
ถูกต้อง :
ปัจจุบันเรายังไม่ทราบสาเหตุที่เเน่ชัดของมะเร็งเต้านม แต่เราสามารถลดอัตราการเสียชีวิต
จากมะเร็งเต้านมได้ โดยวิธีการดังนี้
1. มีความรู้เกี่ยวกับมะเร็งเต้านม
2. ค้นพบในระยะแรกๆ
3. ได้รับการรักษาที่ดี
และการค้นพบมะเร็งในระยะแรก (Eary Detection) ที่ดีที่สุดมี 3 วิธี
1. การตรวจเต้านมด้วยตนเองเป็นประจำ
2. ได้รับการตรวจจากเเพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
3. การตรวจด้วยเครื่องแมมโมแกรมเป็นวิธีที่ดีที่สุด แต่สำหรับประเทศไทย อาจทำได้ไม่ครอบคลุม
เพราะฉะนั้น ศูนย์ถันย์รักษ์ยังแนะนำว่า การตรวจเต้านมด้วยตนเองเป็นประจำยังเป็นสิ่งที่จำเป็น
สำหรับประเทศไทย