- เกี่ยวกับเรา
- ศูนย์ถันยรักษ์
ศูนย์ถันยรักษ์
- Breast Intervention Boot Camp Program
- Breast Imaging Boot Camp Program
- Mammographic Positioning Program
- ชื่อโครงการ
-
ภาษาไทย โครงการเพิ่มศักยภาพ ความชำนาญในการทำหัตถการเต้านม สำหรับรังสีแพทย์ และแพทย์ ผู้สนใจ
ภาษาอังกฤษ Breast Intervention Boot Camp Program for Radiologists and Physicians
- ความสำคัญและที่มาของปัญหา
-
ปัจจุบันในประเทศไทย การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยวิธีแมมโมแกรมร่วมกับอัลตราซาวนด์ มีการแพร่หลาย มากขึ้น เนื่องจากผู้หญิงไทยตระหนักถึงอันตรายของมะเร็งเต้านมมากขึ้น สามารถเข้าถึงการตรวจได้ง่ายขึ้น และมีรังสี แพทย์ผู้มีความชำนาญในการวินิจฉัยมะเร็งเต้านมมากขึ้น เมื่อมีการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมมากขึ้น พบว่าอัตรา การพบมะเร็งเต้านมระยะต้นเพิ่มมากขึ้น ทำให้ส่งผลดีต่อผู้ป่วย ซึ่งการรักษามะเร็งเต้านมระยะต้นได้ผลดีกว่ามะเร็ง เต้านมในระยะท้าย ปัญหาหนึ่งที่พบในกระบวนการการวินิจฉัยและรักษามะเร็งเต้านมในปัจจุบัน คือ ขาดแคลนแพทย์ ผู้ชำนาญในการทำหัตถการเต้านม ได้แก่การเจาะชิ้นเนื้อโดยใช้เครื่องมือต่างๆ (Biopsy), การเจาะดูดเซลล์เพื่อส่ง ตรวจทางเซลล์วิทยา (Fine Needle Aspiration), การปักเข็มเพื่อชี้ตำแหน่งก่อนเข้าห้องผ่าตัดโดยใช้เครื่องมือ ต่างๆ (Needle Localization), การวางMarker ในก้อนมะเร็งสำหรับผู้ป่วยที่ต้องได้รับยาเคมีบำบัดก่อนการผ่าตัด คณะผู้ดำเนินการโครงการ มีความตั้งใจในการเพิ่มศักยภาพและความชำนาญในการทำหัตถการเต้านมของรังสีแพทย์และ แพทย์ผู้สนใจ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการวินิจฉัยและการรักษามะเร็งเต้านมในประเทศไทยให้ดียิ่งขึ้นโดยมุ่งหวัง ให้ผู้หญิงไทยพ้นภัยจากมะเร็งเต้านม
- วัตถุประสงค์ของโครงการ
-
เพื่อเพิ่มศักยภาพและความชำนาญ ในการทำหัตถการเต้านมของรังสีแพทย์และแพทย์ผู้สนใจ
- กลุ่มเป้าหมาย
-
รังสีแพทย์และแพทย์ผู้สนใจที่ต้องการเพิ่มศักยภาพ และความชำนาญในการทำหัตถการเต้านมประมาณ 6 คน/ครั้ง
- ระยะเวลาการอบรม
-
ตารางการอบรม ระยะเวลา 2 วัน ประกอบไปด้วย
- - การบรรยาย (Lecture)
- - สื่อวีดิทัศน์ และการสอนเชิงปฏิบัติการ (Workshop)
- ผลที่คาดว่าจะได้รับ
-
รังสีแพทย์และแพทย์ผู้สนใจที่เข้าร่วมโครงการ มีความรู้ความเข้าใจและความชำนาญเกี่ยวกับหัตถการเต้านมดีมากขึ้น รวมถึงมีความพึงพอใจในการเข้าร่วมโครงการ